มีนาคม 29, 2024, 03:18:11 PM

ยินดีต้อนรับเพื่อนๆ ทุกคนครับ กรุณาลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่อโพส ดูไฟล์แนบ และเข้าสู่บอร์ดอื่นๆ
กรุณาอย่าสมัครสมาชิกเพื่อโฆษณาเวปไซด์ หรือสินค้าใดๆ รวมถึงการเสนอขายสินค้าทุกชนิด
หากพบเห็น ทางทีมงานจะทำการตักเตือนก่อนในครั้งแรก
แต่หากยังฝ่าฝืนกระทำการดังกล่าวอีกทีมงานจะดำเนินการลบสมาชิกของท่านทันทีตามข้อตกลงในการสมัครสมาชิกครับ


หลังจากลงทะเบียนเพื่อสมัครสมาชิกใหม่แล้วโปรดตัวสอบ e-mail ของคุณ หรือทดลอง log in ได้ภายใน 24 ชั่วโมงครับ
*** บางครั้ง e-mail อนุมัติอาจอยู่ใน จดหมายขยะ หรือ Spam ขอบคุณครับ

ผู้เขียน หัวข้อ: กฎหมายไอที รู้ไว้ห่างไกลคุก!  (อ่าน 4189 ครั้ง)

ออฟไลน์ แมค ตีนดอย

  • Freelanc...มืออาชีพ
  • The Watcher Team
  • Freshman MC 27/30
  • ***
  • กระทู้: 1,491
  • ถูกใจ: +0/-0
  • แมค ตีนดอย
    • กริชชัย กุศล (แมค) 306/27
กฎหมายไอที รู้ไว้ห่างไกลคุก!
« เมื่อ: มิถุนายน 26, 2008, 04:12:01 PM »
 -25
ปัจจุบัน เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและสารทนเทศ (ไอที) ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งด้านการค้า การศึกษา การติดต่อสื่อสาร
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตนั้นมีมากมหาศาล แต่ขณะเดียวกันก็มีโทษอนันต์ถ้าใช้ผิดวิธี "ข่าวสดหลาก&หลาย" รวบรวมคำถาม-ไขข้องใจปัญหาข้อกฎหมายที่พบบ่อยว่า การใช้อินเตอร์เน็ตในทางที่ผิดรูปแบบไหน ทำให้ต้องเสี่ยงคุกเสี่ยงตะราง!

การใช้ "ชื่อ" และ "นามแฝง"
โลกอินเตอร์เน็ตเปิดช่องให้ผู้ใช้สามารถตั้งชื่อปลอม นามแฝง โกหกสถานะและอายุได้อย่างง่ายดาย
ในกรณีที่ใช้ "นามแฝง" ที่ตั้งขึ้นมาเองหรือไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใดและไม่ได้เข้าไปเขียนข้อความให้ร้ายผู้อื่นคงไม่มีปัญหา
แต่ถ้านำชื่อของบุคคลอื่นมาใช้โดยเจ้าตัวไม่ได้รับรู้ จนทำให้เกิดความเสียหายจะต้องรับผิด อาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

การพนันออนไลน์
ตามกฎหมายแบ่งแยกการพนันออกเป็น 2 ประเภท โดยแยกออกเป็น "บัญชี ก." และ "บัญชี ข."
กลุ่มที่อยู่ในบัญชี ก. กฎหมายห้ามเล่นโดยเด็ดขาด อาทิ พวกหวย ก.ข. ไฮโล ไพ่ต่างๆ ส่วนประเภทสองที่อยู่ในบัญชี ข. เล่นได้แต่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อน
เว็บไซต์เกี่ยวกับการพนันออนไลน์มีนับไม่ถ้วน ส่วนใหญ่จะเป็นไพ่ต่างๆ และสล็อตแมชชีน ซึ่งถือเป็นการพนันตามบัญชี ก. ผู้ฝ่าฝืนก็มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 3 ปี อย่างไรก็ตาม การเล่นพนันออนไลน์ในขณะนี้ติดตามจับกุมยากและไม่คุ้มกับทรัพยากรของภาครัฐ จึงยังไม่ค่อยเห็นการดำเนินคดีอย่างจริงจัง

ความผิดของ"เว็บมาสเตอร์"
"เว็บมาสเตอร์" คือคำเรียกขานผู้ดูแลเว็บไซต์ต่างๆ ในกรณีมีนักท่องเน็ตเข้ามาเขียนกระทู้ โพสต์ข้อความ หรือโพสต์รูปที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย รวมทั้งโพสต์ภาพอนาจาร หรือเขียนเนื้อหาพาดพิงสถาบัน ตัวนักท่องเน็ตคนนั้นถือว่ากำลังทำความผิดทางอาญา
ส่วนเว็บมาสเตอร์ ถ้าสืบสวนพบว่า เห็นข้อมูลที่สร้างปัญหา แต่ปล่อยปละละเลยไม่สนใจลบข้อความทิ้งหรือแก้ไขข้อความก็อาจถูกฟ้องร้องฐานร่วมกระทำความผิดด้วย เช่น เรียกค่าเสียหายทางแพ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าในเว็บไซต์ดังกล่าวไม่มีมาตรการป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย โอกาสต้องรับโทษจะยิ่งสูงขึ้น

"ลิงก์-ไฮเปอร์ลิงก์" ละเมิดลิขสิทธิ์
โลกอินเตอร์เน็ตเปิดโอกาสให้แต่ละเว็บไซต์เชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวกง่ายดาย ผ่านระบบที่เรียกว่า "ไฮเปอร์ลิงก์" หรือ "ลิงก์"
ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ ถ้าไปเอาข้อมูลจากเว็บไซต์อื่นๆ มาเผยแพร่ แม้จะทำลิงก์เชื่อมโยงที่มาเอาไว้ แต่ถ้าไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของเว็บปลายทางโดยตรงก็อาจมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
ในสหรัฐอเมริกามีข้อถกเถียงกันในประเด็นนี้อย่างแพร่หลายถ้าจะเอาเว็บไซต์ของคนอื่นมาลิงก์เข้ากับเว็บไซต์ของเราจะต้องไปขออนุญาตหรือไม่ ในประเทศไทยปัญหานี้ยังไม่เคยเกิดขึ้น แต่อนาคตอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ก่อนจะนำเว็บของคนอื่นมาลิงก์เข้ากับเว็บของเราควรขออนุญาตให้เรียบร้อยก่อน

การดาวน์โหลดเพลง
"เพลง" ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ใครจะไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของไม่ได้
การอัพโหลดไฟล์เพลงขึ้นไปอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน ยิ่งถ้าทำเพื่อการค้าโดยเก็บเงินจากคนที่ดาวน์โหลดเพลงนับเป็นความผิดคดีอาญา
สำหรับคนที่ดาวน์โหลดมาฟังเฉยๆ ถือเป็นการทำซ้ำ แต่พอมีช่องทางทางกฎหมายที่จะอ้างได้ว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะถือเป็นการทำซ้ำมาเพื่อใช้ประโยชน์เอง และการดาวน์โหลดมาฟังยังพอมีช่องทางต่อสู้คดีได้ว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะไม่ได้เอาไปขาย

การซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์มาก๊อบปี้แจกผู้อื่น
เนื่องจากโปรแกรมลิขสิทธิ์ หรือโปรแกรมถูกกฎหมายมีราคาแพงมาก ทำให้ธุรกิจโปรแกรมเถื่อนละเมิดลิขสิทธิ์เฟื่องฟูยิ่งกว่าดอกเห็ด
อย่างไรก็ตาม แม้เราจะซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์มาใช้ แต่ถ้านำโปรแกรมนั้นไปแจกให้เพื่อนฝูงก๊อบปี้ หรือทำสำเนาไปใช้ต่อ ถือว่ามีความผิดฐาน "ทำซ้ำ" ซึ่งเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ แม้กฎหมายจะมีข้อยกเว้นให้การทำสำเนาโดยเจ้าของโปรแกรมมีลิขสิทธิ์ ทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ไม่ใช่การยกเว้นโดยไม่มีขอบเขต เพราะกฎหมายจำกัดจำนวนสำเนาว่าให้มีจำนวนตามสมควร เพื่อวัตถุประสงค์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย

อีเมล์ขยะ (สแปมมิ่ง)
ใครที่ใช้ "อีเมล์" ทุกวันร้อยทั้งร้อยคงรู้สึกเบื่อหน่ายกับ "อีเมล์โฆษณาขยะ" ทั้งหลายที่ส่งมาได้ทุกวัน วันละหลายๆ ฉบับ ทั้งน่าเบื่อ น่ารำคาญ และเสียเวลาอ่าน
เจ้าของสินค้าหรือผู้ส่งอีเมล์ขยะเหล่านี้ได้ข้อมูลที่อยู่อีเมล์ของเราผ่านวิธีการหลากหลายรูปแบบ เช่น ฝังโปรแกรม "คุกกี้" เอาไว้ตามเว็บไซต์ที่เราเข้าไปดู จากนั้นก็ส่งคุกกี้เข้ามาคอยสอดส่องเก็บข้อมูลการใช้คอมพิวเตอร์และอีเมล์ของเรา เพื่อส่งอีเมล์ขยะมาหา
ในสหรัฐ ปัญหาอีเมล์ขยะทำให้มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไปร้องเรียนกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เร่งออกมาตรการควบคุม และเคยเกิดคดีดังขึ้นคดีหนึ่ง หลังจากบริษัท "เอโอแอล" ไอเอสพีหรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ลงมือฟ้องร้องบริษัทไซเบอร์โปรโมชั่น ฐานส่งอีเมล์โฆษณาขยะไปยังอีเมล์ของลูกค้าเอโอแอล นอกจากนั้น ยังมีอีกคดีที่ไอเอสพีฟ้องผู้ส่งอีเมล์ขยะฐานะ "บุกรุก" คอมพิวเตอร์ลูกค้า
ส่วนในไทยอาจเข้าข่ายผิดมาตรา 10 ในกฎหมายคอมพิวเตอร์2550 ที่ระบุว่า ผู้ใดกระทำการโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 -16

ออฟไลน์ แมค ตีนดอย

  • Freelanc...มืออาชีพ
  • The Watcher Team
  • Freshman MC 27/30
  • ***
  • กระทู้: 1,491
  • ถูกใจ: +0/-0
  • แมค ตีนดอย
    • กริชชัย กุศล (แมค) 306/27
ใช้ร้านเน็ตให้ปลอดภัย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2008, 04:14:23 PM »
ใช้ร้านเน็ตให้ปลอดภัย

มีใครที่ใช้งานอีเมล ต้องส่งงานทางอินเทอร์เน็ตแล้วไม่เคยเข้าร้านเน็ตบ้าง แม้คุณจะนำโน้ตบุ๊กส่วนตัว พร้อมโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ต่ออินเทอร์เน็ต แต่ความเร็วที่ได้ก็ไม่เพียงพอต่อการส่งไฟล์งานขนาดใหญ่ และนี่คือความจำเป็นของการเข้าร้านอินเทอร์เน็ตสำหรับคนทำงานทุกคน แต่คุณรู้หรือไม่ว่าร้านอินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีเจ้าของร้านไร้จริยธรรมคุณจะต้องเจอกับอะไรบ้าง


เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อาจจะมีโปรแกรมสปายแวร์ตรวจจับการทำงานอยู่ เครื่องคอมพ์ซึ่งอุดมไปด้วยไวรัสและมัลแวร์หลากหลายสายพันธุ์ เด็กเล่นเกมออนไลน์ส่งเสียงเย้วๆ ไม่เกรงใจคนข้างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้คุณไม่ปลอดภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ตในร้านทั้งสิ้น วันนี้ผมมีคำแนะนำจากประสบการณ์ส่วนตัวมาเล่าสู่กันฟัง ว่าคุณจะใช้ร้านอินเทอร์เน็ตอย่างไรให้ปลอดภัย

ใช้แฟลชไดรฟ์ให้เป็นประโยชน์
เดี๋ยวนี้แฟลชไดรฟ์มีราคาถูกอย่างน่าใจหาย เมื่อ 3 ปีก่อน เราเคยซื้อแฟลชไดรฟ์ 128 MB ในราคา 1,200 บาท เวลานี้ ขนาด 1 GB มีราคาเพียง 190 บาทเท่านั้น เมื่อแฟลชไดรฟ์กลายเป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่สามารถหาซื้อและพกพากันได้ทั่วไป เราจะประยุกต์ใช้ความสามารถจากแฟลชไดรฟ์มาช่วยป้องกันตัวจากโปรแกรมมัลแวร์ สปายแวร์ และไวรัส ตามร้านอินเทอร์เน็ตกันดีกว่า

เริ่มจากดาวน์โหลดโปรแกรมที่ชื่อ Avast ไวรัส คลีนเนอร์ ได้ที่ www.avast.com/eng/down_cleaner.html ความสามารถของโปรแกรมตัวนี้ก็คือ ทำงานได้ด้วยตัวของมันเองโดยไม่ต้องติดตั้งลงตัวเครื่อง สามารถตรวจจับไวรัสเวิรม์และมัลแวร์ในเครื่องที่เราใช้งานได้ วิธีการใช้งานก็ง่ายมาก เพียงแค่คลิกสตาร์ต โปรแกรมก็จะเริ่มสแกนเครื่องให้เราทั้งเครื่องทันที โดยใช้เวลาไม่นานนัก ขึ้นอยู่กับขนาดไฟล์ในฮาร์ดดิสก์ด้วย

ที่เราใช้โปรแกรมตัวนี้ก็คือ ช่วยสแกนหาไฟล์ไวรัสและโปรแกรมที่จะเป็นอันตรายต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ต แล้วถ้าฆ่าไม่ได้ก็ไม่ต้องสนใจครับ ปล่อยเอาไว้อย่างนั้น เพราะเป็นเรื่องของร้าน แต่เวลาเรากลับบ้านต้องเอาแฟลชไดรฟ์มาสแกนไวรัสอีกที

โปรแกรมต่อมาก็คือ โปรแกรม cpe17 ผลงานของนักศึกษาลาดกระบัง ซึ่งช่วยในการกำจัดไวรัสพวกออโตรันได้เป็นอย่างดี หากเครื่องคุณมีอาการดับเบิลคลิกเปิดแฟลชไดรฟ์ หรือไดรฟ์ใดไดรฟ์หนึ่งไม่ได้ ต้องคลิกขวาเลือกโอเพนเท่านั้น หรือปรากฏไฟล์สคริปต์ประหลาดโผล ่อยู่ทั่วเครื่อง โปรแกรมตัวนี้ช่วยคุณได้แน่นอน สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.thaiware.com/main/info.php?id=9307

2 โปรแกรมนี้ควรมีติดแฟลชไดรฟ์เอาไว้ครับ แถมให้อีกตัวก็คือ โปรแกรมแอนตีสปายแวร์ที่สามารถกำจัดสคริปต์ โหลดออปเจกต์ประหลาดในเครื่องของเราได้ แต่ต้องติดตั้งลงเครื่องเท่านั้นนะครับ ไม่สามารถรันได้ด้วยตัวเอง โหลดได้ที่ www.antispyware.com/download.php เผื่อบางร้านเขาไม่ได้ล็อกรหัสป้องกันการลงโปรแกรมเอาไว้

เปลี่ยนการบันทึกในเบราเซอร์

ร้านอินเทอร์เน็ตบางร้านจะตั้งค่าเบราเซอร์ให้จดจำรหัสผ่านเอาไว้ เราสามารถเข้าไปแก้ไขได้ที่ Tools>Internet Options>เลือก Tab-Contents ไปที่ Auto complete> จากนั้นให้ติ๊กช่อง Username and password on forms และช่อง Prompt me to save password ออก เท่านี้เครื่องก็จะไม่จำล็อกอินและพาสเวิรด์ของเราแล้ว เว้นแต่ว่าเครื่องนั้นจะลงโปรแกรมพวกคีย์ล็อกเกอร์ ซึ่งเราไม่สามารถตรวจจับได้ นอกจากลงโปรแกรมแอนตีสปายแวร์ ซึ่งทางร้านก็มักจะล็อกการลงโปรแกรมเอาไว้เพื่อป้องกันตัวของเขาเองอีกส่วนหนึ่ง เวลาใช้งานจึงต้องระวังข้อความที่เป็นส่วนตัวนิดนึงครับ

สิ่งที่ไม่ควรกรอกในร้านอินเทอร์เน็ต

หากเราไม่สามารถป้องกันโปรแกรมสปายแวร์ ควรจำไว้ว่าสิ่งต่อไปนี้อย่าพิมพ์ในร้านอินเทอร์เน็ตเป็นอันขาด

1.ล็อกอินและพาสเวิรด์อีเมล เราควรมีอีเมลปลอมสักหนึ่งเมลที่ไม่สำคัญต่อการใช้งาน เอาไว้ใช้ในร้านอินเทอร์เน็ต หรืองานบางอย่างที่เปิดเผยได้โดยไม่ซีเรียสมาก ใช้เมลปลอมในร้านเน็ต ถ้าไม่มีให้สมัครใหม่ทันที

2.อย่าเข้าใช้งานเว็บไซต์ด้านการเงินในร้านอินเทอร์เน็ต เว็บพวกเพย์พาล หรือเว็บไซต์ธนาคารไม่ควรใช้เด็ดขาด แต่ล็อกอินสมาชิกเว็บคอมมูนิตีต่างๆ ใช้งานได้ตามปกติ เพราะเว็บเหล่านี้ถึงร้านจะเอาไปใช้ก็ไม่ได้มีสาระสำคัญอะไรกับเรา ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนพาสเวิร์ดได้ในเครื่องคอมพ์ที่บ้าน

3.โปรแกรมแชต ไม่ควรใช้โปรแกรมแชตเพราะเป็นโปรแกรมที่เป็นช่องทางในการส่งไวรัสและโทรจันชั้นยอดอย่างหนึ่ง แม้เราจะใช้อีเมลปลอมในการใช ้งานคุยกับเพื่อน แต่เพื่อนเราจะซวยที่โดนไวรัสทางโปรแกรมแชตไม่รู้ตัว ถ้ารักเพื่อนก็อดใจไว้นิดนึง โทร.คุยหรือกลับไปล็อกอินที่บ้านก็ไม่ขาดจากความเป็นเพื่อนหรอกครับ

ทั้งหมดนี้คือคำแนะนำสั้นๆ ในการเข้าใช้งานร้านอินเทอร์เน็ต เดี๋ยวคราวหน้าเรามาดูกันว่าร้านเน็ตหน้าตาแบบไหนที่ไว้ใจได้หรือไม่ได้ นั่งตรงไหนปลอดภัยมากที่สุด และวิธีการแก้เผ็ดร้านที่เราจับได้ว่าลงโปรแกรมสปายแวร์เอาไว้

ออฟไลน์ แมค ตีนดอย

  • Freelanc...มืออาชีพ
  • The Watcher Team
  • Freshman MC 27/30
  • ***
  • กระทู้: 1,491
  • ถูกใจ: +0/-0
  • แมค ตีนดอย
    • กริชชัย กุศล (แมค) 306/27
วิธีกันคลิป (ฉาว) หลุด
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2008, 04:20:05 PM »

วิธีกันคลิป (ฉาว) หลุด

ปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับการกู้ไฟล์ให้โหลดมาใช้อยู่เยอะแยะเต็มไปหมดในอินเทอร์เน็ต (อาทิ PC Inspector File Recovery: www.pcinspector.de) ซึ่งวิธีการก็ใช้งานง่าย (นายเกาเหลาเคยแนะนำวิธีไปแล้ว) จะว่าไปผู้ผลิตโปรแกรมเขาก็มีความประสงค์ดีที่จะผลิตโปรแกรมเพื่อช่วยคนเดือดร้อนที่เผลอลบข้อมูลไปโดยไม่ตั้งใจ แต่ก็อย่างว่าแหละ สังคมโลกมักมีพวกหัวหมอเอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ นายเกาเหลาเลยขอแนะนำ 5 วิธีป้องกันคลิป (ฉาว) หลุด งานนี้นายเกาเหลาขอออกแรงรับรองผล 1000% เลยครับ

วิธีที่ 1

ไม่นำรูปหรือคลิป (ที่ไม่เหมาะสม) ของตัวเองไปโพสในเว็บสาธารณะ อาทิ hi5 เพราะภาพที่แสดงบนหน้าจอทุกภาพเราสามารถคลิกขวาแล้วเลือก Save Picture As เก็บไว้ดูเล่น และถึงแม้มีเว็บไซต์บางแห่งบอกกับคุณว่ามีระบบป้องกันการ ก๊อบปี้รูป เช่นห้ามคลิกขวา แต่ก็อย่างที่เราทราบว่าเมื่อมีคน (ป้อง) กัน ก็ต้องมีคนแก้ เพราะเดี๋ยวนี้มีโปรแกรมสำหรับจับภาพที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์อย่าง SnagIt (www.techsmith.com) ที่สามารถเก็บทุกรายละเอียดทั้งแบบภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว นั่นก็แสดงว่านอกจากภาพบนหน้าจอที่เห็นแล้ว หากคุณแชตกับเพื่อนแล้วเปิดกล้อง โปรแกรมนี้ก็สามารถบันทึกภาพที่ปรากฏผ่านกล้องเว็บแคม แล้วเก็บไฟล์คลิปได้ด้วยเช่นกัน

วิธีที่ 2

ก่อนนำมือถือไปซ่อม แนะนำให้ถอดเมมโมรีการ์ดที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลออกมา ส่วนข้อมูลที่บันทึกอยู่ในตัวเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ควรฮาร์ดรีเซ็ต (คล้ายๆ กับการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์) ซึ่งมือถือแต่ละรุ่นจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไป แนะนำให้อ่านวิธีจากคู่มือที่แถมมากับตัวเครื่อง

วิธีที่ 3

กล้องดิจิตอลซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพที่แสนสะดวก ทุกครั้งที่คุณกดปุ่มเพื่อถ่ายภาพ ไฟล์จะถูกเขียนลงบนเมมโมรีการ์ด ดังนั้นหากกล้องของคุณเสีย ก่อนส่งไปซ่อมคุณก็ควรถอดเอาเมมโมรีการ์ดออกมาก่อนที่จะส่งไปซ่อมที่ร้านหรือศูนย์ซ่อม เพราะถึงยังไงที่ศูนย์ซ่อมเขาก็ต้องมีการ์ดสำรองเพื่อใช้ในการซ่อมอยู่แล้ว

วิธีที่ 4

ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการลบไฟล์แบบถาวร จริงๆ แล้วมีผู้รู้ให้คำแนะนำกันมาหลากหลายวิธี อาทิ ฟอร์แมตตัวเก็บข้อมูล แต่เนื่องจากมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยกู้ไฟล์คืนกลับมาได้ ดังนั้นการฟอร์แมตจึงไม่ใช่วิธีการลบไฟล์อย่างถาวร ผู้รู้บางคนก็แนะนำว่าให้เขียนข้อมูลให้เต็มการ์ดความจำ แล้วลบและเขียนทับซ้ำไปซ้ำมาหลายๆ รอบ วิธีการนี้ก็ไม่สามารถรับประกันว่าเซียนคอมพ์จะกู้กลับมาไม่ได้

ส่วนการลบไฟล์หรือคลิปแบบถาวรในแบบที่กู้คืนกลับมาไม่ได้ เราจะต้องใช้โปรแกรมประเภทลบถาวรมาใช้ลบไฟล์ ซึ่งก็มีด้วยกันหลายโปรแกรม (บางที่ก็เรียกว่า Wipe Program) มีทั้งแบบฟรี และเสียเงิน โดยสามารถใช้กับการ์ดหน่วยความจำต่างๆ เช่น CF Card, Flash Drive, SD Card เป็นต้น

สำหรับโปรแกรมแบบที่โหลดฟรีจะมีลักษณะการทำงานแบบลบทีละไฟล์ หรือหลายๆ ไฟล์พร้อมกัน โดยจะเป็นการลบแล้วจัดเรียงข้อมูลใหม่ ซึ่งเมื่อมีการกู้ข้อมูลจะพบว่ามีข้อมูลที่ถูกลบไปอยู่ และสามารถกู้ขึ้นมาได้ แต่จะไม่สามารถเปิดใช้งานได้ตามปกติ โปรแกรมในกลุ่มนี้มีหลายตัว เช่น Eraser (www.heidi.ie/eraser), Free wipe wizard (http://wizardrecovery.com/free_wipe/free_wipe_wizard.php) หรือ Blowfish Advanced CS (www.lassekolb.info/bfacs.htm)

นายเกาเหลาขอยกตัวอย่างโปรแกรม Blowfish Advanced CS วิธีการใช้งานก็ง่ายๆ แค่ดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งในเครื่องจากนั้นก็เปิดโปรแกรมขึ้นมา เลือกไดรฟ์ที่ต้องการลบถาวร จากนั้นให้เลือกไฟล์ที่ต้องการลบ สุดท้ายก็สั่ง Wipe (Ctrl+W) เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ


ทางด้านโปรแกรมเสียตังค์ จะมีความสามารถในการลบที่ดีกว่าพวกฟรีแวร์ โดยหลังจากที่ติดตั้งไฟล์โปรแกรมลงไปแล้วจะสามารถสั่งลบไฟล์ที่อยู่ในไดรฟ์ต่างๆ ได้ทั้งหมด และไม่สามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้เลย แม้แต่ไฟล์เดียว โปรแกรมในกลุ่มนี้ ได้แก่ Media Wiper (http://www.whitecanyon.com/download-identity-theft-software.php) วิธีการใช้งานนายเกาเหลาไม่ขอพูดถึง ใครอยากรู้ว่าดีแค่ไหนก็ลองซื้อมาใช้เองครับ

วิธีที่ 5

ไม่ถ่าย สั้นๆ ง่ายๆ เพียงแค่นี้ก็ไม่ต้องกังวลใจปวดหัวกับปัญหาที่จะตามมา เพราะความลับไม่มีในโลก ดังนั้นถึงคุณจะหาทางป้องกันปิดบังมากแค่ไหน หากถึงวันซวย ภาพหรือคลิปเหล่านั้นก็สามารถออกมาประจานคุณได้อย่างแน่นอนครับ

ออฟไลน์ นิชคุณ ป๋ายดอย

  • เทพเกรียน ประจำบอร์ด
  • Freshman MC 27/30
  • *
  • กระทู้: 1,908
  • ถูกใจ: +0/-0
Re: กฎหมายไอที รู้ไว้ห่างไกลคุก!
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2008, 04:42:12 PM »
มึงคิดว่า ถ้าข้อความยาวเกิน 5 บรรทัด กูจะอ่านมั๊ย?...

ออฟไลน์ pongsatorn/27

  • มัธยมปลาย MC 27/30
  • *****
  • กระทู้: 649
  • ถูกใจ: +0/-0
Re: กฎหมายไอที รู้ไว้ห่างไกลคุก!
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2008, 05:11:29 PM »
คำเตือน....ถ้าไม่ยากให้ข้อมูลไม่พึงประสงค์หลุด....ควรเก็บไว้ใน HD ภายนอกเครื่อง....หรือเก็บไว้ในแผ่น CD DVD เกิดตราวซวยเครื่องมีปัญหา.... -07เคยเห็นคนเอาเครื่องไปซ่อมมี......ช่างโหลดเก็บไว้เฉยเลย.....แบบคริปที่ชอบหลุดนะ.....

ออฟไลน์ แมค ตีนดอย

  • Freelanc...มืออาชีพ
  • The Watcher Team
  • Freshman MC 27/30
  • ***
  • กระทู้: 1,491
  • ถูกใจ: +0/-0
  • แมค ตีนดอย
    • กริชชัย กุศล (แมค) 306/27
Re: กฎหมายไอที รู้ไว้ห่างไกลคุก!
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2008, 10:43:24 PM »
มึงคิดว่า ถ้าข้อความยาวเกิน 5 บรรทัด กูจะอ่านมั๊ย?...
:angry6:แต่ถ้าคลิปยาวน้อยกว่า 1 นาที มึงคงไม่ตั้งใจดูหรอก... -07 :pray:

ออฟไลน์ นิชคุณ ป๋ายดอย

  • เทพเกรียน ประจำบอร์ด
  • Freshman MC 27/30
  • *
  • กระทู้: 1,908
  • ถูกใจ: +0/-0
Re: กฎหมายไอที รู้ไว้ห่างไกลคุก!
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2008, 08:50:33 AM »
ไอ่ตุ้ยมันฮู้แกว... -14

ออฟไลน์ Yai P5/6

  • มัธยมปลาย MC 27/30
  • *****
  • กระทู้: 909
  • ถูกใจ: +0/-0
  • เจียมเพราะจน เป็นคนอย่างข้า
Re: กฎหมายไอที รู้ไว้ห่างไกลคุก!
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2008, 09:25:02 AM »
สตอปๆ
ใจเย็นๆเน่ออ้าย
....
ว่าแต่ไอ้ คลิป เคลิป เนี่ย หน้าตามันเป็นจะใด
มีตั่วอย่างหื้อผ่อก่
 :smile9:
หายหัวไปเมิน ปิ๊กมารับใช้ ปี้น้องแล้วครับท่าน